"Happiness is a warm puppy."

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558







 ลักษณะทั่วไป

     ดัลเมเชียนเป็นสุนัขที่มีจุดโดดเด่น ตื่นตัว แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้าม กระฉับกระเฉง ไม่ขี้อาย เฉลียวฉลาด เป็นสุนัขที่มีความทรหดอดทนผนวกกับการวิ่งที่ค่อนข้างเร็ว


 ความเป็นมา

     เป็นสุนัขที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน มีประวัติและตำนานอันยาวนาน รูปร่างของเขาเป็นการผสมผสานระหว่าง สุนัขพันธุ์พ้อยเตอร์และสุนัขพันธุ์ฮาวนด์ที่มีใบหูเล็กและผิวหนังที่ตึงของทวีปยุโรปตะวันออก เนื่องจากมันไม่ได้ถูกใช้เป็นสุนัขดมกลิ่นหรือช่วยในการล่าสัตว์ จึงเป็นการยากที่จะรู้ถึงเทือกเถาเหล่ากอที่แน่ชัด ตามตำนานได้เล่าขานว่า เล่าขานว่ามาจากทางตอนเหนือของประเทศอินเดียเมื่อนานมาแล้ว แล้วถูกนำเข้าทวีปยุโรปตะวันออกโดยชาวยิปซี เนื่องจากพบบันทึกเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์นี้ในเมืองดัลเมเชียในยุคแรกๆ จึงมีการตั้งชื่อสุนัขพันธุ์นี้ว่าดัลเมเชียน
     ไม่ว่าจะมีต้นกำเนิดอย่างไร เจ้าที่คอยวิ่งตามม้าเทียมรถตั้งแต่ยุคกลาง เพื่อปกป้องนักท่องเที่ยวจากโจรที่ปล้นคนเดินทาง แต่ในที่สุดมันก็กลายมาเป็นเครื่องประดับของผู้รากมากดี จากภาพที่สุนัขพันธุ์นี้วิ่งไปตามถนนของกรุงลอนดอน เพื่อกันผู้คนไม่ให้ไปเกะกะเจ้าหน้าที่ดับเพลิง จึงมีชื่อเล่นว่าสุนัขดับเพลิง ดัลเมเชียนเป็นสัตว์เลี้ยงที่สะอาด สงบเสงี่ยมและมองได้ไกล กลายเป็นสุนัขที่คอยระแวดระวังเกี่ยวกับเพลิงไหม้ เป็นสุนัขที่ไม่ค่อยเห่ายกเว้นจะมีอะไรหลงเข้ามา สุนัขพันธุ์นี้มีความอดทนอย่างเหลือเชื่อ สามารถที่จะวิ่งในความเร็วปานกลางแบบไม่มีกำหนด ความจำเป็นในการออกกำลังกายจึงมีมาก
 ลักษณะนิสัย

     ร่าเริง รักสะอาด ตื่นตัว แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้าม กระฉับกระเฉง ไม่ขี้อาย เฉลียวฉลาด เป็นสุนัขที่มีความทรหดอดทนผนวกกับการวิ่งที่ค่อนข้างเร็ว ดัลเมเชียนเป็นสุนัขรักสนุกที่แม้จะติดตลกด้วย แต่ก็ยังมีความสง่างามในตัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ประจำของสุนัขพันธุ์นี้คือ "รอยยิ้ม" ของเขาที่เราเห็นบ่อยมักจะโดนเข้าใจผิดว่าเป็นการแยกขี้ยวคำรามถ้าไม่เหลือบไปเห็นหางระริกระรี้ที่กระดิกอยางเป็นมิตรอย่ด้วยวามที่เป็นสุนัขอ่อนไหวเขาจะคอยตามติด และคอยอ้อนขอความรักจากผู้เลี้ยงเสมอ

การดูแล

     ไม่ต้องการการดูแลเรื่องความสะอาดและการตัดแต่งขนมากนัก ไม่เหมือนกับพันธุ์อื่น เนื่องจากมีที่ขนสั้นแน่น ดัลเมเชียน ต้องการการแปรงบ้างในบางครั้งเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ดี ด้วยความที่เป็นสุนัขที่แข็งแรงและตื่นตัว ดังนั้นต้องคอยฝึกให้เขาเชื่อฟังคำสั่งของเราด้วย รวมทั้งต้องพาพวกเขาไปเดินเล่นเดินทุกๆ วันและต้องให้เขาอยู่ในบริเวณที่มีรั้วรอบขอบชิด  

 ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม

     ดัลเมเชียน เป็นเพื่อนที่ยอดเยี่ยม สุนัขเฝ้ายาม และเป็นสัตว์เลี้ยงมหัศจรรย์ประจำครอบครัว แต่ด้วยความที่พวกเขาแข็งแรงและร่าเริงจนออกจะซนไปสักหน่อยจึงต้องมั่นใจว่าคุณจะสอนเขาให้อยู่คำสั่งผู้เลี้ยงได้

ข้อควรจำ

     ดัลเมเชียน มีความเสี่ยงที่จะเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย และบางตัวอาจมีปัญหาโรคผิวหนัง ขณะที่บางตัวอาจหูหนวกตั้งแต่เกิด    


มาตรฐานสายพันธุ์


ขนาด สูง 56-61 ซม.
ศรีษะ มีความสมดุลกับร่างกาย มีความยาวพอสมควร ผิวหนังไม่หย่อน
ฟัน ขาวสะอาด เป็นลักษณะแบบขบกรรไกร
ปาก ปิดสนิท ริมฝีปากดำ แน่น กระชับ กระบอกปากยาว
ตา อยู่ห่างกันพอประมาณ ขนาดปานกลางและมีลักษณะกลม ตาสีน้ำตาลหรือสีน้ำเงิน ตายิ่งเข้มยิ่งดี ตามักมีสีเข้มในดัลเมเชียนที่มีจุดสีดำมากกว่าในตัวที่มีจุดสีตับ
หู ขนาดปานกลาง ฐานหูกว้างแล้วค่อยๆ สอบ ปลายหูมน หูบาง เมื่อตื่นตัวส่วนบนของหูจะอยู่ระดับเดียว กันกับยอดของกะโหลกศีรษะ
จมูก สีดำในสุนัขที่มีจุดสีดำ และสีน้ำตาลในสุนัขที่มีจุดสีตับ
คอ เส้นหลัง ลำตัว คอโค้งได้ที่ ค่อนข้างยาว ไม่มีเหนียง
อก ลึก กว้างปานกลาง
ลำตัว ลำตัวน้องหมายาวใกล้เคียงกับส่วนสูงจากเท้าถึงหัวไหล่ ร่างกายแข็งแรงกล้ามเนื้อได้รูปกระชับ มั่นคง ซี่โครงขยายกว้าง ส่วนอกขยายกว้างไปถึงช่วงไหล่ทั้ง 2 ข้าง  และจะแคบลงท้ายลำตัวช่วงบั้นท้าย
เอว -
ขาหน้า ทั้งเท้าหน้าและเท้าหลังกลมและกระทัดรัด มีอุ้งเท้าที่หนาและมีสปริง เล็บสีดำหรือขาวในสุนัขที่จุดสีดำ และสีน้ำตาลหรือสีขาวในสุนัขที่มีจุดสีตับ
ขาหลัง ต้นขาหนาใหญ่ เห็นกล้ามเนื้อเด่นชัดแข็งแรง ท่อนขาล่างยาวตรง มั่งคง มองจากด้านหลังจะเห็นว่าท่อนขาทั้ง 2 ข้างขนานกัน
หาง ต่อจากเส้นหลังอย่างธรรมชาติ ไม่มีการตัดหาง หางชูขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ม้วน
ขน ละเอียด หนา สั้น เป็นมัน
สีขน แรกเกิดจะมีสีขนขาวล้วน แต่ละเกิดเป็นจุดสีดำเมื่อโตขึ้น



ที่มา : http://www.dogilike.com/breeds/14/
รูปภาพ : www.google.com

อเมริกัน พิทบูลเทอร์เรีย (American Pit Bull Terrier)




ในช่วงศตวรรษที่19 ผู้ที่นิยมสุนัขในประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ และสก๊อตแลนด์ ได้เริ่มที่จะผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างบูลด๊อกตัวที่เหนียวที่สุดกับ สุนัขเทอร์เรียตัวที่กล้าหาญ ที่สุด และดีที่สุดเข้าด้วยกัน ผลจากการผสมข้ามสายนี้ในไม่ช้าก็รู้กันว่าพวกมันคือ สุนัข บูล แอนด์ เทอร์เรีย(Bull-and-Terrier) หรือพวกมันก็คืออเมริกันพิทบูลนั่นเอง เพื่อต้องการที่ จะได้สุนัขที่มีลักษณะของการล่าเหยื่อ(เกมส์)ของสุนัขพันธุ์เทอร์เรีย กับ ความแข็งแกร่ง และความปราดเปรียวที่เหมือนกับสุนัขพันธุ์บูลด๊อก ผลที่ออกมานั้นก็คือสุนัขที่ประกอบไป ด้วยความเป็นนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ แข็งแรง ทรหด อดทน และอ่อนโยนกับคนที่มันรัก ผลของ การอพยพปรากฏว่ามีคนได้นำสุนัข บูล แอนด์ เทอร์เรีย นี้ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้คนที่เป็นเกษตรกรและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ได้มองเห็นความสามารถ ของสุนัขพันธุ์ อเมริกันพิทบูลและได้ใช้มันในการปกป้องทรัพย์สิน
เป็นสุนัขที่ใช้สำหรับการไล่ล่า ต้อนฝูง ปศุสัตว์(วัว หมู) รวมทั้งเลี้ยงเอาไว้เป็นเพื่อนสมาชิกในครอบครัว ปัจจุบันนี้สุนัขพันธุ์อเมริกัน พิทบูลแสดงความสามารถได้ในหลากหลายด้านด้วยกัน อย่างเช่นการฝึกให้ เชื่อฟังคำสั่ง ความสามารถในการสะกดรอย การแข่งขันเรื่องของความเร็ว (Agility) เป็นสุนัขอารักขา ความเฉลียวฉลาดในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสายพันธุ์นี้โดยเฉพาะเช่น การลากน้ำหนัก
         ยูไนเต็ด เคนนัล คลับ (ยูเคซี) เป็นผู้ขึ้นทะเบียนสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูลเป็นรายแรก โดยที่ ซี แซท เบ็นเน็ทท์เป็น ผู้ก่อตั้งยูไนเต็ด เคนนัล คลับ(ยูเคซี) เขาได้มอบหมายให้ ยูเคซี เป็นผู้ที่จดทะเบียนเป็นรายแรกโดยการนำพิทบูลของตนเองมากำหนดเป็นมาตรฐาน ภายใต้ชื่อ เบ็นเน็ทท์ ริง ในปี 1898


 รูปร่างลักษณะทั่วไป(General Appearance)
         สุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูล มีขนาดรูปร่างปานกลาง มีสัดส่วนที่พอดี ขนสั้นเรียบ เป็นมันเงางามและมีกล้ามเนื้อที่เด่นชัดมาก สุนัขสายพันธุ์นี้เต็มไปด้วยพละกำลังและมีความปราดเปรียวเป็นอย่างมาก และมีรูปร่างที่ค่อนข้างยาวกว่าส่วนสูง แต่ตัวเมียอาจมีรูปร่างที่ยาวกว่าตัวผู้ ความยาวของขาหน้า(วัดจากข้อศอกถึงพื้น) ประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงของสุนัขทั่วไป หัวมีความยาวปานกลาง กว้าง ส่วนกะโหลกนั้นจะแบนเรียบและค่อนข้างจะกว้าง ประกอบด้วยขากรรไกรที่แข็งแรงและกว้างใหญ่ หูจะมีขนาดที่เล็กจนถึงปานกลาง หูตั้ง และบางทีก็อาจจะมีลักษณะที่เป็นธรรมชาติ(ไม่ได้ตัดหู) หรืออาจจะตัดหูหรือไม่ตัดหูก็ได้ หางสั้นชี้ลง โคนหางใหญ่ และเรียวเล็กลงไปถึงปลายหาง อเมริกันพิทบูลมีทุกสี และมีทุกลาย สุนัขพันธุ์นี้จะต้องปรากฏให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง กระฉับกระเฉง สง่างามและไม่ควรที่จะเทอะทะมากไปจนกล้ามเนื้อทั้งหลายขัดขวางต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย ความสมดุลนั้นควรจะมีสัดส่วนที่เหมาะสมต่อกันและกัน สุนัขพันธุ์นี้ไม่ควรที่จะผอมจนเห็นกระดูก
 
บุคลิกลักษณะ (Characteristics)
         ลักษณะเฉพาะของสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูลก็คือ ความแข็งแกร่ง มีความเชื่อมั่นในตัวของมันเอง และมีชีวิตที่กระหายใคร่รู้ต่อทุกสิ่งที่อยู่รอบๆตัวมัน สุนัขพันธุ์นี้ชอบให้คนดูแลเอาใจใส่ และมีความกระตือรือร้นมาก สุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูลเป็นเพื่อนกับทุกคนที่อยู่ในครอบครัวได้เป็นอย่างดี และมีความรักเด็ก เนื่องจากสุนัขพันธุ์นี้ ส่วนใหญ่มักจะแสดงความก้าวร้าวกับสุนัขทั่วไป และด้วยความแข็งแรงที่แสดงให้เห็นถึงการมีพละกำลังในรูปร่างของพวกมัน ดังนั้นสุนัขสายพันธุ์นี้จึงต้องการเจ้าของที่สามารถอบรมหรือฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งได้ ธรรมชาติของสุนัขพันธุ์นี้มีความปราดเปรียว กระฉับกระเฉงโดยธรรมชาติ ความว่องไวของสุนัขพันธุ์นี้ทำให้พวกมันเป็นหนึ่งในสุนัขที่มีความสามารถในการปีนข้ามรั้ว อเมริกันพิทบูลไม่เหมาะที่จะเลือกไว้เป็นสุนัขอารักขา(Guard dog) เนื่องจากพวกมันค่อนข้างมีอัธยาศัยที่ดีกับคนแปลกหน้า นิสัยดุดันกับคนไม่ใช่บุคลิกลักษณะของพวกมัน สุนัขพันธุ์นี้มีความสามารถในหลากหลายด้าน เพราะมีความฉลาดมากเป็นพิเศษ รวมทั้งความกระตือรือร้นในการที่จะทำงาน สุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูลมีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆได้เป็นอย่างดี หากแต่ว่าข้อบกพร่องของสุนัขสายพันธุ์นี้ ได้ตัดคะแนนความนิยมและความสามารถของมัน


หัว (Head)
         หัวของสุนัขอเมริกันพิทบูลนับได้ว่ามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น หัวของอเมริกันพิทบูลจะต้องมีกะโหลกใหญ่ และกว้าง ซึ่งให้ความรู้สึกได้ถึงความมีพละกำลังที่แข็งแรง แต่ว่าหัวของสุนัขพันธุ์นี้ไม่ได้สัดส่วนกับขนาดรูปร่างของมัน เมื่อมองดูจากด้านหน้า หัวของอเมริกันพิทบูลจะมีลักษณะคล้ายลิ่ม กว้าง ทู่ แต่เมื่อมองดูจากด้านข้าง กะโหลกและปากของมันจะขนานกัน และมีตำแหน่งจรดกันที่จุดลึกปานกลาง มีส่วนเว้าบนขอบเบ้าตา(รอยเว้าแหว่งมีได้เฉพาะบริเวณข้างลูกตา) แต่ไม่เด่นมาก หัวมีส่วนประกอบที่ชัดเจน ผสมผสานกับความแข็งแกร่ง ได้อย่างสวยงามซึ่งเป็นบุคลิกลักษณะเฉพาะตัว

หัวกะโหลก (Skull) 
         กะโหลกที่ใหญ่ แบน หรือค่อนข้างกลม ลึก และกว้างระหว่างตา เมื่อมองจากข้างบน กะโหลกจะเรียวไปด้านหน้า กล้ามเนื้อที่แก้มเห็นได้อย่างเด่นชัด แต่จะต้องไม่มีรอยเหี่ยวย่นบนหน้าผาก เมื่อใดที่สุนัขพันธุ์นี้อยู่ในระหว่างใจจดใจจ่อ(ตั้งใจ) รอยย่นจะปรากฏขึ้นบนหน้าผากได้ ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจของสุนัขสายพันธุ์นี้

ปาก (Muzzle)
         ปากกว้างและลึก โดยมีความเรียวเล็กน้อยที่ปลายจมูก และลาดลงเล็กน้อยใต้ตา ความยาวของปากสั้นกว่าความยาวของกะโหลก ในอัตราส่วนประมาณ2:3ที่ซึ่งขนานกัน เส้นบนของปากเป็นเส้นตรง ส่วนกรามล่างนั้นจะกว้างและลึก ริมฝีปากสะอาดและตึง
         ข้อบกพร่อง (Faults) ปากแหลมเหมือนปากนก ปากเล็ก และกรามล่างไม่แข็งแรง

ฟัน (Teeth)
         อเมริกันพิทบูลมีฟันที่สมบูรณ์ในช่วงระยะห่างที่เท่ากัน ฟันขาวที่สบกันแบบกรรไกร
         ข้อบกพร่อง(Faults): ฟันบนและล่างไม่สบกันแบบกรรไกรกัน
         ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง(Serious Faults): ฟันล่างยื่นล้ำฟันบนออกมาหรือฟันบนยื่นล้ำฟันล่างออกมามากเกินไป (Undershot or Overshot) ปากเบี้ยว ฟันขาด (ไม่ครบชุด)

จมูก (Nose)
         จมูกใหญ่และมีรูจมูกที่กว้าง อาจมีจมูกได้หลายสี

ตา (Eyes)
         ตามีขนาดปานกลาง มีชีวิตชีวา กลมเหมือนถั่วอัลมอนด์ ตาอยู่ในตำแหน่งดี ต่ำกว่ากะโหลก ตาทุกสียอมรับได้ ยกเว้นตาสีฟ้า ที่ซึ่งถือว่าเป็นข้อบกพร่องที่ร้ายแรง และไม่ควรมองเห็นเยื่อของเปลือกตาที่ปลิ้นออกมา
         ข้อบกพร่อง: ตาสีฟ้า
         ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง: ตาโปน ตาทั้งสองข้างคนละสี ตาสีฟ้า

หู (Ears)
         ใบหูที่ระวังระไวและมีชีวิตชีวานั้นจะตั้งสูง อาจจะตัดหูหรือไม่ตัดหูก็ได้แล้วแต่ความชื่นชอบของแต่ละบุคคล ถ้าหูเป็นแบบธรรมชาติที่ซึ่งไม่ได้ตัดหูนั้น อาจจะพับครึ่งลงมาหรืออาจจะตั้งตรง หรือแบนเรียบ สำหรับหูที่กว้างเกินไปไม่เป็นที่ต้องการ

คอ (Neck)
         คอมีความยาวปานกลาง แข็งแรงและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เป็นเส้นโค้งพอเหมาะบรรจบกับหลัง คอค่อยๆกว้างออกจากจุดเชื่อมกะโหลกไปถึงไหล่ มีขนคอที่แน่นตึง ไม่มีเหนียง
         ข้อบกพร่อง: คอสั้นมากและหนา คอเล็กหรือไม่แข็งแรง คอคล้ายกับแกะตัวเมีย มีเหนียง

ส่วนหน้า (Forequarters)
         กระดูกหัวไหล่ยาว กว้าง ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และอยู่ค่อนไปทางข้างหลัง กระดูกหัวไหล่นี้จะมีความยาวเกือบเท่ากับความยาวของกระดูกขาท่อนบน และกระดูกจะต้องอยู่ในมุมได้อย่างถูกต้อง ขาหน้าแข็งแรง และเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ข้อศอกอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับลำตัว เมื่อมองจากด้านหน้า ตำแหน่งของขาหน้าจะกว้างออกได้อย่างชัดเจน และตั้งฉากกับพื้นดิน กระดูกที่ติดกับกระดูกขาท่อนล่างของขาหน้านั้นจะสั้น แข็งแรง ตั้งตรง และมีความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี เมื่อมองจากด้านข้าง กระดูกที่ติดกับกระดูกขาท่อนล่างของขาหน้านี้เกือบจะตั้งตรง 
         ข้อบกพร่อง: มีไหล่สูงหรือตั้งเกินไป ข้อศอกบิดงออย่างชัดเจน หรือติดกันจนเกินไป ขาในส่วนที่ต่อจากกระดูกขาท่อนล่างของขาหน้าจะอยู่ในระดับต่ำเกินไป ข้อเท้าสูง นิ้วเท้าหลบใน หรือโผล่ออกมามากเกินไป

ลำตัว (Body)
         ลำตัวใหญ่ กว้าง และมีลักษณะกลมและลึกลงมาตลอดลำตัวจนถึงบริเวณอก เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับหัวใจและปอด แต่ความกว้างของช่วงอกควรมีสัดส่วนที่พอดีกับความลึก คือความกว้างไม่มากกว่าความลึก ช่วงอกหน้าไม่ควรขยายมากเกินกว่าหัวไหล่ซี่โครงแผ่ขยายจากกระดูกสันหลัง และไปเชื่อมกับข้อศอก ประกอบกันเป็นรูปร่างลำตัวที่ดูลึก ส่วนบนโค้งลงเล็กน้อยจากตะโพก ถึงหลัง ช่วงท้องสั้น โค้งเล็กน้อยไปถึงส่วนบนของตะโพก ตะโพกลาดลงเล็กน้อย

ช่วงหลัง (Hindquarters)
         ช่วงหลังแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และมีความกว้างอย่างเหมาะสมตะโพกมีสัดส่วนดีระหว่างทั้งสองด้าน และลึกจากกระดูกเชิงกรานถึงจุดอวัยวะเพศ กระดูก และ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วงหลังสมดุลกับช่วงหน้า ขาท่อนบนหนาได้รูป เห็นกล้ามเนื้อได้อย่างชัดเจน เมื่อมองจากด้านข้างข้อเท้ามีส่วนโค้งที่ได้สัดส่วน และอุ้งเท้าหลังอยู่ในตำแหน่งดี และตั้งฉากกับพื้น เมื่อมองจากด้านหลัง อุ้งเท้าหลังตรงเป็นรูปขนาน
         ข้อบกพร่อง: ช่วงหลังแคบและสั้น จากกระดูกเชิงกรานถึงอวัยวะเพศไม่มีกล้ามเนื้อ ข้อต่อตรงหรือเป็นเหลี่ยมมุมมากเกินไป ข้อเท้าเหมือนข้อเท้าวัว ขางอ

เท้า (Feet)
         เท้ากลม มีสัดส่วนเหมือนสุนัขทั่วไป นิ้วเท้าโค้งคุ้มได้ขนาด อุ้งเท้าแข็งแรง และรองรับกันดี นิ้วเล็บส่วนเกิน(นิ้วติ่งหรือนิ้วหัวแม่มือ) อาจจะถูกกำจัดออกไปก็ได้
         ข้อบกพร่อง: เท้าแบะ

หาง (Tail)
         หางอยู่ในตำแหน่งที่ต่อมาจากส่วนบน และเรียวลงล่าง เมื่อสุนัขอยู่ในอารมณ์ที่เป็นปกติ หางจะชี้ลงอยู่ในตำแหน่งระดับข้อเท้า เมื่อสุนัขเคลื่อนไหว หางจะอยู่ในระดับเส้นหลัง เมื่อสุนัขอยู่ในอาการตื่นเต้น หางจะยกขึ้น แต่ไม่ม้วนมากจนถึงหลัง
         ข้อบกพร่อง: หางยาวกว่าระดับข้อเท้า
         ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง: หางม้วน หางงอ
         ข้อห้ามที่ทำให้หมดสิทธิ์: หางพุ่ม

ขน (Coat) 
          ขนมีลักษณะเป็นเส้นตรง สั้น เรียบติดตัว เป็นเงางาม เรียบ ละเอียด และการจัดวางของเส้นขนจะหยาบเพียงพอสำหรับที่จะป้องกันผิวหนังได้
         ข้อบกพร่อง: ขนงอหยิก ม้วนเป็นคลื่น ขนบางไม่หนา
         ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง: ขนยาว
สี (Color)
          สุนัขพันธุ์นี้จะออกมาในหลากหลายสีสัน จากสีครีมไปจนถึงสีดำ รวมทั้งเฉดสีน้ำตาลแกมเหลืองและสีแดง ลายเสือรูปแบบของลายซึ่งเราอาจจะเห็นในหลายๆเฉดสี ก็ยังเป็นที่น่าจับตาเป็นพิเศษ แต่ละสียังมีความแตกต่างกันอย่างมากมาย
ความสูงและน้ำหนัก (Height and Weight)
          อเมริกันพิทบูลควรมีความแข็งแรงและความว่องไว ดังนั้นน้ำหนักและส่วนสูงไม่ค่อยจะมีความสำคัญซักเท่าไหร่ สัดส่วนที่พอดีของน้ำหนักและส่วนสูงนั้น น้ำหนักสำหรับสุนัขตัวผู้(ที่โตเต็มที่แล้ว) อยู่ระหว่าง35-60ปอนด์ น้ำหนักสำหรับตัวเมีย (ที่โตเต็มที่แล้ว) จะอยู่ระหว่าง30-50ปอนด์ หากสุนัขที่มีน้ำหนักไม่อยู่ในเกณฑ์นี้ก็ไม่เป็นไร แต่ว่าจะต้องไม่ผอมจนเกินไป หรือมีสัดส่วนน้ำหนักและส่วนสูงที่มากเกินไป
ท่าทางการเดินและการวิ่ง (Gait)
          อเมริกันพิทบูลเคลื่อนไหวด้วยความว่องไว มั่นใจ แสดงให้เห็นถึงความคาดหวังที่จะพบกับสิ่งใหม่ๆและน่าตื่นเต้น เวลาเดินเหยาะๆ ท่าเดินจะเรียบและมั่นคง เมื่อเคลื่อนไหว เส้นหลังคงระดับความโค้งเล็กน้อย แสดงถึงความอ่อนโยน เมื่อมองจากทุกด้าน ขามีการประสานกันเป็นอย่างดี เมื่อเร่งความเร็วขึ้น ขาจะเบนเข้าหากันที่จุดศูนย์กลางอย่างสมบูรณ์
          ข้อบกพร่อง: ขาเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ย่างก้าวของขามากเกินไป ขาพันกันไปมา ขาหลังเคลื่อนไหวใกล้หรือเกือบเตะขาหน้า การวิ่งหรือเดินที่เอียงข้าง
ข้อห้ามในการตัดสิน (Disqualifications) 
โมโหร้าย หรือมีความขี้อายมาก หูหนวกข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง หางพู่ สุนัขเผือก
ข้อสังเกต แม้ว่าความก้าวร้าวเป็นลักษณะหนึ่งของสายพันธุ์นี้ ผู้เลี้ยงควรทำตามนโยบาย/คำแนะนำของยูเคซี เนื่องจากยูเคซีมีประสบการณ์ถึงความขี้โมโหของสุนัขสายพันธุ์นี้เป็นอย่างดี



ที่มา : http://www.ipitbulldog.com/about_arpbt.htm
รูปภาพ : www.google.com

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ชิวาว่า ตัวจิ๋ว Chiwawa/Chi Hua Hua




ลักษณะทั่วไปของชิวาว่า

    น้องหมาตัวเล็กน่ารักตัวนี้มีชื่อพันธุ์ ชิวาว่า ตัวเล็กมาก ขนสั้น ตาโต หูใหญ่ ติดเจ้าของมาก แค่นี้ก็น่ารักเว่อร์ละ



 ความเป็นมาของชิวาว่า

     สุนัขพันธุ์นี้มีต้นกำเนิดจาก Mexico โดยถูกเลี้ยงไว้ เพราะ คิดว่าจะสามารนำโชคลาภมาให้ แต่ที่น่าสงสารคือ น้องชิวาว่าถูกใช้เป็นเครื่องบูชายัญด้วย รู้งี้แล้วเศร้าเลยครับ





ลักษณะนิสัยของชิวาว่า


     น้องหมาตัวเล็กน่ารักชนิดนี้นอกจากจะน่ารักแล้ว ยังฉลาดและรักเจ้านายของมันมากๆ โดยปกติแล้วชิวาว่าจะเป็นสุนัขที่รักสงบ แต่ถ้ามีใครแปลกหน้า หรือสุนัขแปลกหน้าก็เห่าแบบไม่มีกลัวเหมือนกันนะครับ เห็นตัวเล็กๆงี้ก็เถอะ เรียกได้ว่าตัวเล็กแต่ใจใหญ่

    นอกจากนั้นแล้วชิวาว่ายังชอบให้เจ้าของดูแลเอาใจใส่มากๆ ต้องการให้รักเค้ามากๆ ชอบเล่นกับเจ้าของโดยปกติแล้วชิวาว่า จะเน้นออกกำลังกายโดยเล่นกับเจ้าของมากกว่า ไม่ค่อยชอบไปวิ่งเล่นเองเท่าไรนัก





    เรื่องที่เราต้องระวังให้น้องชิวาว่าของเราก็จะเป็นเรื่องโรคภัยที่จะมารุมน้องเค้าเนี่ยแหละ อย่างพวกโรคลำไส้ที่เกิดบ่อยมากๆในสุนัข  ถ้าสังเกตุเห็นว่าน้องชิวาว่าของเรามีการทานอาหารน้อยลง ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเริ่มมีอาการ " ป่วย " ยังไงถ้ารักเค้า รับเค้ามาเลี้ยงแล้ว ก็ต้องดูแลเค้าให้ดีๆนะครับ
อย่าทิ้งเค้าเลย เพราะเค้าไม่มีใคร



ปล.ขอบคุณรูปภาพจาก Google นะครับ

ใครที่ชอบเรื่องแมวติดตามได้ที่ howcast.blogspot.com

น้องหมาหน้าหล่อ ไซบีเรียน ฮัสกี้




 ลักษณะโดยทั่วไปของไซบีเรียนฮัสกี้

     ไซบีเรียน ฮัสกี หรือเรียกสั้นๆง่ายๆว่า ไซบีเรียน เป็นสุนัขขนาดกลาง มีขนฟูแน่นสวยงาม และแข็งแรง สง่างาม คล่องแคล่ว และ ปราดเปรียว  ลักษณะจะคล้ายกับหมาป่า  เป็นมิตรกับคนและเข้ากับคนได้ง่าย สุนัขพันธุ์ไซบีเรียนนี้จะรู้จักกันดีในกีฬาลากเลื่อนที่เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยม



ความเป็นมาของไซบีเรียน ฮัสกี้

     ไซบีเรียน อัสกีนี้มีต้นกำเนิดในตะวันออกของไซบีเรีย คำว่า “ฮัสกี้” ได้มาจากชื่อที่ใช้เรียกชาวอินนูอิต(Inuit) โดยเพาะพันธุ์มากจากสุนัขในวงศ์สปิตซ์(สุนัขขนยาวและหนา)ของชาวชุกซี ต่อมาได้ถุกนำเข้ามาในอลาสกาและแพร่พันธุ์เข้าสู่สหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา จนพัฒนามาเป็นสุนัขลากเลื่อนเมื่อประมาณ ค.ศ.1900 ต่อมาจึงนำมาไซบีเรียนเลี้ยงเป็นสุนัขตามบ้าน



นิสัยของไซบีเรียน ฮัสกี้
     ไซบีเรียนเป็นสุนัขที่ฉลาด แสนรู้ ตื่นตัว ตลอดเวลาครับ รักความอิสระ ซุกซน  ดื้อ และฝึกยาก ที่สำคัญขอบทำลายข้าวของมาก ก็เด็กมันซน ฮ่าๆๆ เป็นสุนัขที่ฉลาด เข้ากับคนง่าย แต่ก็ต้องพยายามฝึกบ่อยๆนะครับ อย่างน้อยวันละ 15 นาทีก็ยังดี พาไปออกกำลังกายทุกวันจะดีมากๆ เพราะอย่างที่บอกไว้ว่า เป็นน้องหมาที่มีพลังงานเยอะมากๆ ยังไงคนที่รักน้องหมาชนิดนี้ หรือคิดจะเลี้ยงแล้วละก็ ควรจะต้องมีเวลาให้น้องเค้ามากๆนะครับ 


ข้อเสียของไซบีเรียนฮัสกี้ 
    
     ซนมากๆ แล้วก็ชอบหอนมากกว่าเห่านะครับ ยังไงเลี้ยงดูให้ดีๆครับ ฝึกให้เค้าดีๆ ข้างบ้านเค้าจะได้ไม่รำคาญนะครับ 


    

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บล็อกรักหมา ขอให้เป็นหมา รักหมด 






         สวัดดีครับ บล็อกนี้อาจมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับคนที่ไม่รักสุนัข คนที่ทานสุนัข หรือชอบทำร้ายสุนัขนะฮะ ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำ เย้ยยย...อยู่ดีๆก็อยากเขียนบล็อกขึ้นมา เลยเลือกเรื่องของน้องหมานี่แหละครับขึ้นมาเขียน เพราะ ส่วนตัวเป็นคนรักหมามากๆเลย (เป็นคนนะฮะ) 

         เลยเกิดไอเดียว่าอยากจะบอกเล่าเรื่องราวของน้องหมาพันธุ์ต่างๆ ว่าเป็นมายังไงลักษณะนิสัยยังไง จริงๆก็อยากรู้ด้วยนั่นแหละ ไหนๆก็เลยกะว่าจะมาเขียนไว้เป็นบล็อกของตัวเองด้วย


        แล้วก็อาจจะมีเกร็ดความรู้ของคนเลี้ยงสุนัข หรือข่าวสารมาอัพเดทในบล็อกนี้ด้วยเป็นระยะๆ นะครับ ยังไงก็ฝากติดตามกันด้วยนะครับ แฮ่กกๆๆ